ฉมบ [ฉะ-มบ], ฉะมบ, ชมบ หรือ ทมบ เป็นผีไทยชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มผีร้ายหรือผีเลวให้โทษ
และนับว่าเป็นผีรุ่นเก่าที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก บางแห่งก็ว่าคือผีปอบตามคติชนเขมร เพราะชื่อมาจากคำเขมรว่า "ชะมอบ" (เขมร: ឆ្មប, ฉฺมบ) แปลว่า หมอตำแย ผีชนิดนี้ปรากฏอยู่ใน พระไอยการเบดเสรจ มาตราที่ 157 ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1767[2] และปรากฏใน พระอัยการลักษณรับฟ้อง ประมวลกฎหมายตราสามดวง ซึ่งตราขึ้นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ด้วยความที่ฉมบเป็นผียุคเก่าไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนักทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะไม่ชัดเจน เพราะเอกสารแต่ละแห่งให้ข้อมูลไม่ตรงกัน
ฉมบ
ภาพจาก ภูตผีปีศาจไทย มีลักษณะใกล้เคียงกับฉมบ ตามคำอธิบายของราชบัณฑิตสภา
กลุ่มผีไทย
กลุ่มย่อยผีร้าย
สัตว์คล้ายคลึง
กระสือ, ปอบ, ผีโพง, ผีกะ
ประเทศประเทศไทย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลองเข้ามาดูสินค้า Gooddaylady Perfume 🦋 น้ำหอมฟีโรโมน ขนาด 30ml. Sexyhight ขายในราคา ฿340 ซื้อได้ในแอป Shopee ตอนนี้เลย!
https://s.shopee.co.th/1VlVbPOMY3
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุลักษณะของฉมบไว้ว่า "ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น เงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร, ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า"
ส่วน อักขราภิธานศรับท์ (2461) ระบุลักษณะของฉมบไว้ว่า "คนมีผีกะสือ, ผีตะกละ, เข้าสิงอยู่ในตัว, มันย่อมอยากกินสิ่งของที่โศกโครกเปนต้น"
เข้ามาดูวิดีโอของฉันใน Shopee Video คลิกเลย >>> https://th.shp.ee/tt0nsg8?smtt=0.0.9
ส่วน สารานุกรมภาษาอีสานฯ ของปรีชา พิณทอง (2532) ระบุว่า "ผีปอบ เป็นผีจำพวกหนึ่งสิงอยู่ในตัวคน มีหลายชนิด คนที่ชอบกินของดิบ เช่น กบดิบ เขียดดิบ กลางคืนมักจะออกหากิน มีแสงออกตามจมูกสีเขียว พวกหนึ่งเรียกมนต์แล้วปฏิบัติตามครูสอนไม่ได้ มนต์เกิดเป็นผี กินคนอื่นไม่ได้ก็กินตัวเอง เรียก ปอบมนต์ อีกพวกหนึ่งไม่ได้เรียนอะไร แต่พี่น้องเป็นปอบ เมื่อพี่น้องตายไปแล้วปอบเข้ามาสิงอยู่ในตัว ปอบชนิดนี้เรียกปอบเชื้อ ปอบทุกชนิดหมอมนต์เขารักษาหายได้"
และเอกสารยุครัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็จัดให้ฉมบพร้อมผีอีก 10 ชนิด เข้าข่ายของความหมายว่าปีศาจ
ฉมบ ปรากฏอยู่ในกฎหมายเก่าของไทย คือ พระไอยการเบดเสรจ มาตราที่ 157 ระบุว่า ฉมบ คือผีร้าย เนื้อหา ระบุไว้ความว่า "...เจ้าเมืองและผู้รั้งเมื่อไต่สวนว่าบุคคลที่เป็นฉมบ จะกละ กระสือ กระหาง แม้ว่าจะรับเป็นสัจแล้ว อย่าให้เจ้าเมืองผู้รั้งเอาไปฆ่า ให้ส่งตัวลงมาที่กรุงไว้แต่นอกขนอน..."
ส่วนเอกสารยุคหลังอย่าง พระอัยการลักษณรับฟ้อง ประมวลกฎหมายตราสามดวง ได้กำหนดลักษณะต้องห้ามเป็นเหตุได้ยกฟ้องได้ 20 ประการ ซึ่งข้อที่ 20 ได้ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับฉมบไว้ว่า "...ถ้าแลอนาประชาราษฎรมีถ้อยคำร้องฟ้องศาลา แลฟ้องร้องเรียนกฎหมายโรงสารกรมใด ๆ …. อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี
… แลราษฎรผู้ต้องคะดีมีถ้อยคำตัดฟ้อง ๒๐ ประการนี้ท่านให้มุขลูกขุนพิภากษาตามบทพระไอยการพระราชกฤษฏีกา ถ้าต้องด้วยพระไอยการห้าม ๒๐ ประการนี้แล้วให้ยกฟ้องเสีย"