โจเซฟ เมงเกเล |
กำลังเริ่มทดลอง |
ครอบครัวคนแคระ |
นายแพทย์ โจเซฟ เมงเกเล ( Dr.Josef Mengele )
(Dr.Josef Mengele )
นายแพทย์หนุ่ม รูปงาม แต่จิตใจดุจดัง ปีศาจ ผู้จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมิวนิก ( Munich University ) ด้วยวัยเพียง 24 ปี เขาเป็นสมาชิกพรรคนาซีเมื่องปี ค.ศ. 1937 ได้รับฉายาว่า เทพแห่งความตาย ( Angel of Death ) เนื่องจากเป็นผู้ตัดสินว่าเชลยที่ถูกขนส่งมาโดยทางรถไฟ เมื่อลงมาสู่ค่ายเอาชวิตซ์ โดยเขาจะเป็นคนชี้ว่า คนนี้ไปอยู่ทางซ้าย คนนี้ไปทางขวา ( ซ้าย คือ ถูกส่งเข้าสู่ ห้องรมแก๊สพิษ ขวา ถูกนำไปใช้แรงงาน หรือรอเป็นหนูทดลองต่อไป ) ความโหดเหี้ยมของ หมอโจเซฟ นั้นถึงขั้นที่ว่า ครั้งหนึ่งมีเหตุการณ์เหาระบาดในค่าย หมอโจเซฟได้ออกคำสั่งให้ ทำการควบคุมการแพร่ระบาดโดยการเผาที่พักที่มีการระบาด ไปพร้อมกับผู้ป่วยที่เป็นเหาทั้งเป็น และยังมีความเชี่ยวชาญในการใช้ แก๊สพิษไซคลอน บี ในการสังหารหมู่ ตัวพ่อ ของค่ายเอาชวิตซ์ โดย การทดลอง สุดสยองที่เขาได้ทำไว้ มีดังนี้
•การทดลองเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกาย ทางพันธุกรรม
•การเปลี่ยนสีตา โดยการฉีดสารเคมีเข้าสู่ลูกตาของเด็ก
•การสูญเสียอวัยวะ แขน ขา ทั้งความสามารถในการทนความเจ็บปวด การรักษา แน่นอนการทดลอง ก็จะนำเชลย มาตัด แขน ตัดขา กันสด เฝ้าดูการว่าจะทนพิษบาดแผลได้นานเท่าไร ? ที่เวลาต่างๆ ต้องใช้การช่วยเหลือ หรือประถมพยาบาลอย่างไร จึงสามารถช่วยชีวิตได้ทัน
•เหยื่อที่ หมอโจเซฟ ชื้นชอบที่สุด คือ ฝาแฝด และคนแคระ มีฝาแฝดประมาณ 14 คู่ที่ต้องจบชีวิต โดยมือของ หมอโจเซฟ ( รูปซ้ายล่าง คือครอบครัว Ovitz ทั้งหมดเป็นพี่น้องกัน ตระกูลนี้มีพี่น้อง 10 คน 7 คน เป็นคนแคระ ทั้ง 12 ชีวิตถูกจับส่งเข้าสู่ค่ายเอาชวิตซ์ เมื่อ หมอโจเซฟ พบครอบครัว Ovitz เขาคิดว่าพระเจ้าได้ประทานสิ่งหายากยิ่งให้แก่เขา 2 ใน 12 เสียชีวิตในการทดลอง ที่เหลือโชคดีที่การทดลองยังไม่ทันจบ เยอรมันก็แำพ้สงครามก่อนจึงรอดชีวิตมาได้
หมอเฮอร์ทา |
รูปบาดแผลที่ขาของเหยื่อ |
หมอเฮอร์ทา ทำการทดลองเกี่ยวกับการรักษาบาดแผล ที่เกิดจากสงคราม ซึ่งการที่จะได้ตัวอย่างที่เหมาะสมต่อการทดลองต้องใช้เวลานาน เธอจึงสร้างบาดแผลต่างที่ต้องการขึ้นมา โดยการ ผ่าร่างกายของเชลย ให้เกิดบาดแผล แล้วใ่ส่ เศษดิน ต้นไม้ใบหญ้า เศษกระจก เศษเหล็ก เป็นการจำลองแผลจากสงครามขึ้น ขอจนอับแสบอย่างรุนแรง แล้วทำการรักษา ด้วยตัวยาสูตรต่างๆ
•ส่วนบาดแผลไฟไหม้ เธอก็ทำเหมือนเช่นเดิน เธอจะกีดร่างกายเหยื่อ แล้วใส่สาร Phosphorous ลงในแผล แล้วจุดไฟ จะเกิดการลุกไหม้อย่างแรง ทำให้เกิดแผลไฟไหม้รุนแรง
•หลังสิ้นสุดสงคราม เธอถูกดำเนินคดีในฐานะอาชญากรสงคราม ที่ศาลทหารในนูเรมเบิร์ก ( Nuremberg ) ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี แต่เนื่องจากปฏิบัติตัวดีจึงได้รับการลดโทษ และปล่อยตัวในปี 1952 หลังจากได้รับการปล่อยตัวเธอแอบไปประกอบอาชีพเป็นแพทย์ แต่เชลยสงครามไปพบเข้า จึงได้แจ้งความร้องเรียน จนเธอถูกยึดใบอนุญาตประกอบวิชา
5 Main Gate
ประตูทางเข้าหลัก ของ ค่ายเอาชวิตซ์ ซึ่งปากประตูมีข้อความว่า " ARBEIT MACHT FREI " เป็นภาษาเยอรมัน มีความหลายว่า " การทำงานจะไปสู่อิสระภาพ "
การทำงานจะไปสู่อิสระภาพ ( ARBEIT MACHT FREI ) เหล่าเชลยคงไม่ทราบว่า อิสระภาพที่เหล่านาซีเยอรมัน จะมอบให้นั้นก็คือ " ความตาย "
6 Kitchen
โรงครัว ของ ค่ายเอาชวิตซ์ เป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในค่าย ใช้ที่จัดให้นั้นน้อยเสียจนเพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น ทั้งยังไม่มีคุณค่าทางโถชนาการเลย จะเห็นได้จากร่างกายของเชลยในค่ายที่ผ่ายผอมเหลือแต่โครงกระดูกเท่านั้น หากว่าถามว่าแต่ละวันเหล่าเชลย ได้รับอาหารคนละเท่าไร ?
•ขนนปัง 350 กรัม ต่อวัน
•น้ำที่ทำกลิ่นรสเลียนแบบ กาแฟ ( ersatz coffee ) ตอนเช้าครึ่งลิตร
•ซุปผักกาด กับ มันฝรั่ง 1 ลิตร ตอนเที่ยง โดยในซุปจะมีเนื้ออยู่ประมาณ 20 กรัม
•โดยเฉลี่ยเหล่าเชลยจะได้รับ พลังงานจากอาหารประมาณวันละ 1,300-1,700 แคลลอรี/วัน
7 Slolen Stuff Warehouse
โกงดังเก็บของ ที่ได้จากการยึดมาจากเชลย หรือจากศพของผู้เสียชีวิต เช่นฟันทอง จะถูกนำไปหลอม และนำส่งกลับเยอรมัน แต่ของมีค่าบางส่วนก็ถูกพวก SS ยักยอกไป
รูปภาพ หนึ่งในโกดังเก็บเสื้อผ้า ที่เต็มจนล้นทะลักออกมานอกประตู และถ้าสังเกตที่หน้าต่างเล็กด้านซ้ายก็อัดเต็มไปด้วยเสื้อผ้า คงจินตนาการได้ว่าจำนวนเหยื่อผู้เสียชีวิตนั้นมากมายขนาดไหน
8 Death Wall or Black Wall
ผนังแห่งความตาย หรือ ผนังดำ ผนังนี้ตั้งอยู่บนลานระหว่างเรือนนอนสองหลังคือ บล็อก 10 กับ บล็อก 11 ผนังนี้เป็นอีกหนึ่ง สถานที่ สุดสยอง ภายในค่ายเอาชวิตซ์ เพียงชั่วเวลาสั้นจากปี 1940 ถึง 1944 ระยะเวลาเีพียง 4 ปี ผนังแห่งนี้เป็นพยาน ของแห่งความโหดเหี้ยมของเหล่านาซีเยอรมัน กว่า 20,000 ศพ โดยผนังนี้จะเป็นบริเวณที่ใช้เป็น ลานประหารโดยการยิงกระสุนเข้าบริเวณกระดูกต้นคอข้อสุดท้ายที่ต่อกับกระโหลก โดยเพชรฆาต สองหมื่นศพผู้นี้มีชื่อว่า " Rapportfürher Gerhard Palitsch " เหยื่อของมันมีไม่เว้นแม้แต่ เด็ก และผู้หญิง
ที่มาของ ชื่อ ผนังดำ เนื่องจาก ผนังค่ายสร้างจากอิฐ จะมีฉากสร้างจากท่อนไม้ บุหน้าด้วยไม้ค็อกทาด้วยสีดำ เนื่องจากพวกนาซีกลัวว่าผนังอิฐสวย ของ พวกเขาจะเป็นรอยจากกระสุนปืน
รูปบน เป็นภาพวาด ผนังแห่งความตาย เมื่อเหยื่อถูกยิงทิ้ง เหล่าเชลยจะยกศพไปวางกองกันไว้
รูปล่าง เป็นผนังแห่งความตายในปัจจุบัน เมื่อนักท่องเที่ยวมาเยือนก็มักจะมีการนำ ดอกไม้ มาไว้อาลัยให้แก่ผู้ล่วงลับ