กางกรอุ้มโอบแก้ว กากีปีกกระพือพาศรี สู่งิ้วฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อหางกระหวัดรัดหิ้ว สู้ไม้รังเรียงฯ |
คงไม่มีใครที่ไม่เคยเห็นรูป “ครุฑ” เพราะจะมีให้เจอกันอย่างชินตา โดยเฉพาะสถานที่ หรือทรัพย์สินทางราชการ หน้าธนาคาร หรือแม้กระทั่งในธนบัตร รวมถึงวรรณกรรมหลายเรื่องก็มีการกล่าวถึงครุฑ เรื่องที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ กากี ซึ่งได้หยิบยกโคลงเห่ขึ้นมาเกริ่นข้างต้น แต่ก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของพญานกเจ้าเวหานามว่า ครุฑ
ครุฑ เป็นพญานก มีรูปครึ่งมนุษย์ ครึ่งนกอินทรี เป็นโอรสของพระกัศยปมุนี กับนางวินตา พระกัศยปมุนีนั้นเป็นฤษีที่มีอำนาจมาก ส่วนนางวินตาเป็นธิดาของพระทักษประชาบดี ซึ่งมีธิดาถึง 50 องค์ และได้ยกให้พระกัศยปมุนี ถึง 13 องค์ อีกองค์ที่โด่งดังคือนางกัทรู ซึ่งเป็นพี่ของนางวินตานางกัทรูได้ขอพรจากสามีให้มีลูกจำนวนมาก จึงให้กำเนิด นาค ถึง 1,000 ตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอลูกเพียง 2 องค์ แต่ขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา จึงได้คลอดลูกออกมาคือ อรุณ และ ครุฑ ซึ่งต่อมาอรุณได้ไปเป็นสารถีของพระสุริยเทพ ส่วนครุฑเมื่อแรกเกิดออกจากไข่ว่ากันว่ามีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตาเมื่อกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาจะตกใจหนีหายไป รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ
ต่อมา นางกัทรูและนางวินตามีเรื่องถกเถียงกันว่าม้าที่เกิดคราวทวยเทพและอสูรกวนน้ำอมฤตจะสีอะไร จึงพนันกันว่าใครแพ้จะต้องยกเป็นทาสของอีกฝ่าย 500 ปี นางวินตาทายว่าสีขาว นางกัทรูทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาว แต่นางกัทรูใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซม อยู่เต็มตัวม้า นางวินตาไม่ทราบจึงต้องเป็นทาสถึง 500 ปี จึงทำให้ครุฑและนาคต่างไม่ถูกกันนับแต่นั้นมา
แต่เพื่อช่วยแม่ให้เป็นอิสระ ครุฑได้เจรจาทำความตกลงกับพวกพญานาคที่ต้องการเป็นอมตะว่าจะไปนำน้ำอมฤตที่อยู่กับพระจันทร์มาให้ ครั้นแล้วก็บินไปสวรรค์ คว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมาจึงเกิดต่อสู้กัน ทวยเทพทั้งหมดแพ้ครุฑ ยกเว้นพระวิษณุที่ต่อสู้กันไม่มีใครแพ้หรือชนะเลยต้องทำความตกลงหย่าศึก โดยพระวิษณุหรือพระนารายณ์สัญญาว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะ และให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าขอเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า
ส่วนหม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ตามมาขอคืน แต่ครุฑขอร้องว่าต้องรักษาสัตย์ ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส ขอให้พระอินทร์ไปเอาคืนจากนาคเอง เมื่อครุฑเอาน้ำอมฤตไปให้นาคก็วางไว้บนหญ้าคา แต่ ทำหกบนหญ้าคา 2-3 หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคล ใช้ประพรมน้ำมนต์ ส่วนงูเมื่อเห็นน้ำอมฤตบนหญ้าคาก็ไปเลียกิน ด้วยความไม่ระวังจึงถูกคมหญ้าบาดเป็นทางยาว งูจึงมีลิ้นแตกเป็น 2 แฉก
ฝ่ายนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดีปล่อยนางวินตามารดาของครุฑเป็นอิสระ แต่ขณะพากันไปสรงน้ำชำระกายก่อนจะกินน้ำอมฤต พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคยิ่งเพิ่มความเป็นศัตรูกับครุฑยิ่งขึ้นตามวรรณคดีพุทธศาสนา เช่นเรื่อง สุสันธีชาดก และกากาติชาดก ระบุว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ 150 โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่มืดมนทำลายบ้านเมืองให้พังทลายได้ ครุฑมีชายานามว่า อุนนติ หรือวินายกา โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัม พาที และ ชฎายุ ที่อยู่ของครุฑคือสุบรรณพิภพ เป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว เชิงเขาพระสุเมรุ
นอกจากตำนานข้างต้น ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง โดย เฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดีย ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งทรงอิทธิฤทธิ์ และเป็นพาหนะของพระนารายณ์
จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์พระราชลัญจกร ตั้งแต่สมัยอยุธยา มีองค์หนึ่งเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าไม่ควรมีองค์พระนารายณ์ ควรมี แต่ครุฑ จึงโปรดให้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนถวายใหม่ และ โปรดให้ทำขึ้นใช้ประทับพระปรมาภิไธย ปัจจุบันตราดวงนี้อยู่ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในหนังสือสำคัญ เช่น ประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่อมาจึงได้มีการใช้ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่ว ๆ ไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ
สำหรับรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์เรียกว่า ธงมหาราช เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงมีอยู่ 3 ลำ คือ เรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑ สีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ
รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑนอกจาก “ตราครุฑ” จะปรากฏในส่วนราชการต่าง ๆ แล้ว ภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินในกิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า “โดยได้รับพระบรมราชานุญาต”
ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้วก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน
ปัจจุบันการขอพระราชทานตรา ตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวังเรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯ เสียชีวิต หรือเลิกประกอบกิจการ หรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ.
ฝ่ายนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดีปล่อยนางวินตามารดาของครุฑเป็นอิสระ แต่ขณะพากันไปสรงน้ำชำระกายก่อนจะกินน้ำอมฤต พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคยิ่งเพิ่มความเป็นศัตรูกับครุฑยิ่งขึ้นตามวรรณคดีพุทธศาสนา เช่นเรื่อง สุสันธีชาดก และกากาติชาดก ระบุว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ 150 โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่มืดมนทำลายบ้านเมืองให้พังทลายได้ ครุฑมีชายานามว่า อุนนติ หรือวินายกา โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัม พาที และ ชฎายุ ที่อยู่ของครุฑคือสุบรรณพิภพ เป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว เชิงเขาพระสุเมรุ
นอกจากตำนานข้างต้น ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง โดย เฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดีย ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งทรงอิทธิฤทธิ์ และเป็นพาหนะของพระนารายณ์
จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์พระราชลัญจกร ตั้งแต่สมัยอยุธยา มีองค์หนึ่งเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าไม่ควรมีองค์พระนารายณ์ ควรมี แต่ครุฑ จึงโปรดให้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนถวายใหม่ และ โปรดให้ทำขึ้นใช้ประทับพระปรมาภิไธย ปัจจุบันตราดวงนี้อยู่ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในหนังสือสำคัญ เช่น ประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่อมาจึงได้มีการใช้ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่ว ๆ ไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ
สำหรับรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์เรียกว่า ธงมหาราช เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงมีอยู่ 3 ลำ คือ เรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑ สีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ
รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑนอกจาก “ตราครุฑ” จะปรากฏในส่วนราชการต่าง ๆ แล้ว ภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินในกิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า “โดยได้รับพระบรมราชานุญาต”
ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้วก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน
ปัจจุบันการขอพระราชทานตรา ตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวังเรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯ เสียชีวิต หรือเลิกประกอบกิจการ หรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ.