Requiemผีเข้า... ?
กำกับ Hans Christian Schmidt
“สร้างจากเรื่องจริงของ แอนนิลิส มิเชล นักศึกษาวัย23 ในเมืองมิลเทนเบิร์ก เยอรมัน
ซึ่งเสียชีวิตจากภาวะอ่อนเพลียและขาดอาหารระหว่างทำพิธีไล่ผี
ก่อนหน้านั้นเธอเคยบอกว่า .. เธอเป็นซาตาน และเห็นผี
เห็นปีศาจ...แห่กันมาเป็นฝูง !!!”
นี่คือข้อมูลบางส่วนจากภาพยนตร์เยอรมันเรื่องนี้ ที่พออ่านจบก็ได้แต่นึกอยู่ในใจว่า ...นี่คงเป็นเรื่องราว ที่เป็นต้นฉบับของหนังดังอมตะ “หมอผีเอ็กซอร์ซิสต์”เป็นแน่ และน่าจะเป็นเวอร์ชั่นที่ว่าด้วยความผิดปกติในด้านจิตเวช นั่นคือป่วยด้วยโรคประสาทฮิสทีเรีย (Hysterical psychosis) ประเภทผีเข้า-เจ้าสิง (Spirit possession OR Dissociative type)
มิคาเอล่า คลิงเกอร์(ซานดร้า ฮิลเลอร์) ผู้มีอาการลมชักมาตั้งแต่วัยแรกรุ่น
และกำเริบหนักเมื่อเข้าสู่วัย 18 จนต้องพักการเรียนในไฮสกูลถึง 1 ปี
ต่อมาเธอกลับฮึดสู้ มุมานะจนเรียนจบมัธยมและยังได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ ท่ามกลางความห่วงใยอย่างที่สุดของพ่อและแม่ แม้ลูกสาวจะยืนยันว่า “ 6 เดือนแล้วนะ ที่หนูไม่มีอาการอะไร”
ครอบครัวคลิงเกอร์นั้นเคร่งศาสนาเป็นอันมาก พวกเขาต่างปฏิบัติศาสนกิจกันอย่างครบถ้วน
โดยเฉพาะคนที่เป็นแม่ ดูจะเคร่งครัดกว่าใครอื่น
ซึ่งสอดคล้องกับบุคลิกแบบเคร่งเครียดจริงจัง สไตล์ไม้บรรทัด(Perfectionism) ของเธอ
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่มักเกิดอาการ “เกาเหลา”(ขัดแย้ง,ไม่กินเส้น)กับลูกสาววัยรุ่นอยู่เสมอ...
ครอบครัวที่อยู่กันอย่างอบอุ่น(หรือร่มเย็นเป็นสุข-ในทัศนะของไทยเรา)นั้น
คนในบ้านมักจะมีคุณสมบัติแห่งการสื่อสารในเชิงบวก เช่น รู้จักฟัง(ฟังอย่างเอาใจใส่), รู้จักพูด
(พูดกันอย่างประคับประคองความรู้สึกของอีกฝ่าย)
รู้จักแสดงความรัก(สบสายตา,โอบกอด,ปลอบโยน)
แต่...คนที่เป็นแม่ในครอบครัวคลิงเกอร์ กลับมีโทษสมบัติที่มักสื่อสารกับคนในบ้าน
(โดยเฉพาะกับลูกสาว)ในเชิงลบ ( ไม่รู้จักพูด-ฟัง-แสดงความรัก
แต่หนักไปในทางตำหนิ-ติ- ด่า ปฏิกิริยาเย็นชาและท่าทีไม่ยอมรับอื่นๆ
เช่น หลบตา,ทำท่าแข็งเกร็ง เมื่อลูกสาวเข้าใกล้หรืออยากเข้ามากอด)
ก่อให้ลูกสาวเกิดความสับสน น้อยใจ และเก็บกด ในขณะที่บรรยากาศในบ้าน
มักเกิดความบาดหมางและตึงเครียดอยู่เสมอ
พ่อ “ฉันขอกินอาหารเย็นอย่างสงบสุขสักวัน...จะได้มั้ย???”
ยิ่งลูกสาวคนโต(มิคาเอล่า)จัดได้ว่าเป็นเด็กที่มีความเปราะบางทางชีวภาพ
และทางอารมณ์อยู่แล้ว(อ่อนไหวง่าย-เครียดง่าย) โอกาสที่จะป่วยด้วยโรคทางจิตเวชจึงมีแนวโน้มสูง
( จากการวิจัย ในปี 1987 ของ Wiseman, Hahlweg และ คณะ)
และแล้ววันหนึ่ง ...ความสัมพันธ์ของแม่-ลูก คู่นี้ จึงถึงจุดปรอทแตก
... แม่มองลูกสาวอย่างดูแคลน เมื่อลูกโชว์ชุดไหมพรมรัดรูปที่เพิ่งซื้อมาหมาดๆ
แม่(ประชด) “นี่มันช่างเหมาะกับแกแล้วซินะ!”
ได้ยินดังนั้นลูกสาวถึงกับรีบจ้ำเดินขึ้นห้องอย่างน้อยใจ
มิคาเอล่าถอดชุดโปรดนั้นพับเก็บเข้าตู้เสื้อผ้า
แต่ครู่ต่อมาก็ไม่พบเสื้อชุดนั้นเมื่อเปิดตู้อีกครั้ง เธอจึงรู้ทันทีว่า แม่เอามันไปทิ้งขยะ
“ทำไมแม่ทำอย่างนี้??!” มิคาเอล่าถามแม่เสียงกร้าว
แม่สวนกลับด้วยเสียงที่กร้าวกว่า“ถามตรงๆ ทำไมชอบแต่งตัวเหมือนพวกกระหรี่!!!”
มิคาเอล่า “หนูก็ขอถามตรงๆ...แม่เคยแคร์ความรู้สึกของหนูบ้างมั้ย???”
…..เพี๊ยะ!!! …..ฝ่ามือหนักๆของแม่ ฟาดเปรี้ยงเต็มหน้าลูกสาว
วันนั้นแม้มิคาเอล่าจะตามครอบครัวไปโบสถ์ดังกิจวัตร แต่ก็เต็มไปด้วยความ
ขมขื่นและขุ่นแค้น ในที่สุดเธอก็วิ่งเตลิดออกไปกลางพิธีสวด กลับมาที่บ้านแล้วร่ำไห้
อย่างหนัก และในวันนั้นเอง...เธอก็โดนผีร้ายเข้ามาสิงเหมือนเช่นเคย
แต่ครั้งนี้มันแผลงฤทธิ์อย่างรุนแรงและน่ากลัวยิ่งกว่าทุกครั้ง!
กระทั่งสร้อยประคำที่แม่ให้ไว้กันผี
ต้องถูกดึงทึ้งและเขวี้ยงทิ้งอย่างไม่เหลือดี
มิคาเอล่า(หลังจากผีผละออกจากร่าง)“มันวิ่งพล่านออกจากนิ้วของหนู
...หนูแตะไม้กางเขนไม่ได้ หนูทำอะไรก็ผิดไปหมด เมื่อคืนพวกมันก็มากันยั้วเยี้ย
...ผีหน้าสยดสยองมันตะคอกหนูว่า นังโสโครก-สำส่อน...”
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เธอสารภาพกับสองบาทหลวงที่มีความเห็นไปคนละทาง
หลวงพ่อชรา “เหลวไหล ไร้สาระ เรื่องบ้าๆพรรค์นี้มีแต่จิตแพทย์เท่านั้นแหละ ที่จะรับฟัง”
หลวงพ่อหนุ่ม(หล่อ) “เด็กผู้หญิงคนนี้ต้องการให้ผมช่วย (ไล่ผี) ไม่ใช่ต้องไปพึ่งหมอหรือจิตแพทย์”
ในขณะที่ฮาน่าเพื่อนรัก และแฟนหนุ่มของมิคาเอล่า มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า
เธอกำลังป่วยทางจิต และต้องรับการรักษาโดยจิตแพทย์อย่างรีบด่วน
ฮาน่า “หยุดเถอะ! ผีมันไม่หนีไปไหนหรอก เพราะมันไม่มีตัวตน
ขืนยังทำพิธีขับไล่ต่อไป แล้วตัวเธอน่ะจะลงเอยยังไง???”
แต่แล้วในที่สุด ทั้งพระหนุ่มพระแก่ พ่อแม่ รวมทั้งตัวมิคาเอล่าเอง
ก็ตัดสินใจแก้ปัญหาอันเรื้อรังนี้ด้วยการสวดมนต์และทำพิธีไล่ผีต่อไป......
เรื่องของผีเข้า-เจ้าสิง ฝรั่งยุคนี้แทบจะหาคนโดนเข้าไม่ค่อยได้
แถมไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ ยกเว้นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่ศึกษาในแง่ของ
โรคจิตเภท(Schizophrenia) หรือ โรคประสาทแบบฮิสทีเรีย (Hysterical neurosis)
ส่วนในบ้านเรา ในบางท้องถิ่นได้กลายเป็นเรื่องของจิตเวชชุมชน
โดยเฉพาะชุมชนที่ยังยึดมั่นในขนบประเพณีแบบดั้งเดิม
ที่มีความเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์ เรื่องผี ปีศาจ ฯลฯ...
เช่น ในกรณีผีปอบ ที่ใครในท้องถิ่นนั้นก็มีโอกาสโดนสิงสู่ได้โดยฉับพลัน
แถมยังอาจไปกระตุ้นผู้อื่น(ที่มีความอ่อนไหว-ตึงเครียดง่าย และมีความเชื่อเรื่องผีอย่างเหนียวแน่น)
จนเกิดอารมณ์ร่วมกลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่( Chain Reaction)
หรือระบาดไปจนกลายเป็นอุปาทานหมู่ (Mass Hysteria)
มิคาเอล่านั้นแสดงออกถึง บุคลิกภาพที่แบ่งแยกอย่างชัดเจน
(ไม่ใช่เป็นแบบแตกแยก เหมือนผู้ที่ป่วยด้วยโรคจิตเภท
เช่น ดร.จอห์น แนช ในหนังเรื่องBeautiful Mind)
และปรากฏการณ์นี้มิใช่เกิดจากการเสแสร้งแกล้งทำ
แต่เป็นอาการผิดปกติทางจิตชนิดบุคลิกซ้อน จิตถูกแบ่งแยกเป็น2 ด้านโดยอัตโนมัติ
(Multiple or double personality)
นั่นหมายถึง...ในภาคปกติ เธอคือสาวน้อยน่ารัก รักและเชื่อฟังพ่อแม่ หมั่นสวดมนต์
เป็นศาสนิกชนที่ดี มีความตั้งใจเล่าเรียน
ส่วนในภาคอปกติ เธอจะแปรเปลี่ยนไปอย่างสุดขั้ว เป็นอมนุษย์ที่ก้าวร้าวและป่าเถื่อน
แต่ที่ประหลาดก็คือ พฤติกรรมที่ทั้งถ่อยเถื่อนและน่ากลัวนั้น
มันได้แปรออกมาจากความโกรธและเคืองแค้นที่เธอเก็บกดอยู่ในจิตใจอย่างเรื้อรัง
แน่นอน...มิคาเอล่าต้องกดเก็บความรู้สึกที่มีต่อบุคคลที่เธอทั้งรักทั้งชัง
นั่นก็คือ “แม่”ของเธอนั่นเอง
แม่...ที่จะรักก็รักได้ไม่เต็มที่ ...จะนึกเกลียดก็เกิดความรู้สึกผิด
และบาป... นั่นเองเป็นสิ่งที่Egoยอมรับไม่ได้
(ego คือ จิตตัวที่คอยปรับความสมดุลระหว่างสันดานดิบและมโนธรรม)
อาการผีเข้าจึงเป็นกลไกทางจิต ที่ตอบสนองความต้องการระบายความก้าวร้าวรุนแรง
ความเป็นอริ ที่ฝังอยู่ในใต้จิตสำนึก(Primary gain)
ก็คล้ายเด็กวัยรุ่นบางคน
หาทางออกโดยการกลายเป็นพวกเกเรอันธพาล ติดยาเสพติด
หรือเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เช่น ระบายไปกับการเล่นกีฬา หรือ
ศิลปะแขนงต่างๆ เพียงแต่มิคาเอล่าเบี่ยงเบนไปในทางอำนาจลึกลับ!
“ผี” จึงเป็นสัญลักษณ์ (Symbolic)
ของการผ่อนคลายความตึงเครียดและขุ่นแค้น
ที่สุมแน่นอยู่ในจิตใจ (Psychic Trauma =ความชอกช้ำหรือ บาดแผลทางใจ)
ทั้งสิ่งที่เธอได้รับโดยอ้อมจากการโดนผีเข้าก็คือ การห่วงใยเอาใจใส่
และให้อภัย (Secondary gain) จากผู้ใหญ่ หรือผู้มีอำนาจ (โดยเฉพาะ “แม่”)
ส่วนเสียงดุด่าของผี(...นังสารเลว...นังสำส่อน ฯลฯ )ที่ได้ยินทุกครั้งที่อาการกำเริบก็คือ
เสียงที่เจ้าตัวปั้นขึ้นมาเองจากนโนสำนึก(Super-ego) ที่มักได้รับการปลูกฝัง หรือดุด่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ปรมาจารย์ซิกมันด์ ฟรอยด์เรียกว่า เสียงแห่งศีลธรรม
( Voice of conscience)
เหตุใดคนเป็นแม่ จึงเกิดอาการ “ไม่กินเส้น”กับลูกสาว?
หนังเรื่องนี้ไม่ได้นำเสนอปูมหลังให้เห็น แต่สาเหตุที่แม่กับลูกสาวไม่ลงรอยกันนั้น
โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นจาก...ความไร้วุฒิภาวะของคนเป็นแม่(ที่เจ้าอารมณ์
และมีความคิดแบบเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ)...ไม่รู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นผู้หญิง...ถูกปลูกฝัง
ทั้งจากครอบครัวและประสบการณ์ในอดีต หรือจากประเพณีความเชื่อในชุมชนนั้นๆ
แม่ลักษณะนี้จึงมักมีอคติ หรือมีความริษยาอย่างไร้เหตุผล ...
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ในบางท้องถิ่นจะยังคงขนบประเพณีการไล่ผี
เพื่อรักษาสังคมนั้นๆไว้ แต่ก็ได้บัญญัติข้อจำกัดไว้อย่างมากมาย การทำพิธีไล่ผีจึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ
( เช่น พระที่จะทำการไล่ผี จะต้องได้รับอนุญาตเป็นพิเศษจากพระสังฆราชประจำท้องถิ่นนั้น)
จากโลกยุคกระสวยอวกาศมาถึงยุคดิจิตอล และกำลังย่างก้าวสู่โลกยุคพัฒนาการทางสมอง
(Decade of the Brain) กรณีผีเข้า-เจ้าสิงได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เกิดขึ้นจากสาเหตุทางจิตใจ
ที่มีผลต่อพฤติกรรมหลายอย่างที่ผิดปกติ วิทยาการทางการแพทย์จึงถือว่า
คนที่โดนผีเข้า คือ
ผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตใจ ที่จะต้องได้รับการเยียวยารักษาโดยด่วน...
กำกับ Hans Christian Schmidt
“สร้างจากเรื่องจริงของ แอนนิลิส มิเชล นักศึกษาวัย23 ในเมืองมิลเทนเบิร์ก เยอรมัน
ซึ่งเสียชีวิตจากภาวะอ่อนเพลียและขาดอาหารระหว่างทำพิธีไล่ผี
ก่อนหน้านั้นเธอเคยบอกว่า .. เธอเป็นซาตาน และเห็นผี
เห็นปีศาจ...แห่กันมาเป็นฝูง !!!”
นี่คือข้อมูลบางส่วนจากภาพยนตร์เยอรมันเรื่องนี้ ที่พออ่านจบก็ได้แต่นึกอยู่ในใจว่า ...นี่คงเป็นเรื่องราว ที่เป็นต้นฉบับของหนังดังอมตะ “หมอผีเอ็กซอร์ซิสต์”เป็นแน่ และน่าจะเป็นเวอร์ชั่นที่ว่าด้วยความผิดปกติในด้านจิตเวช นั่นคือป่วยด้วยโรคประสาทฮิสทีเรีย (Hysterical psychosis) ประเภทผีเข้า-เจ้าสิง (Spirit possession OR Dissociative type)
มิคาเอล่า คลิงเกอร์(ซานดร้า ฮิลเลอร์) ผู้มีอาการลมชักมาตั้งแต่วัยแรกรุ่น
และกำเริบหนักเมื่อเข้าสู่วัย 18 จนต้องพักการเรียนในไฮสกูลถึง 1 ปี
ต่อมาเธอกลับฮึดสู้ มุมานะจนเรียนจบมัธยมและยังได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ ท่ามกลางความห่วงใยอย่างที่สุดของพ่อและแม่ แม้ลูกสาวจะยืนยันว่า “ 6 เดือนแล้วนะ ที่หนูไม่มีอาการอะไร”
ครอบครัวคลิงเกอร์นั้นเคร่งศาสนาเป็นอันมาก พวกเขาต่างปฏิบัติศาสนกิจกันอย่างครบถ้วน
โดยเฉพาะคนที่เป็นแม่ ดูจะเคร่งครัดกว่าใครอื่น
ซึ่งสอดคล้องกับบุคลิกแบบเคร่งเครียดจริงจัง สไตล์ไม้บรรทัด(Perfectionism) ของเธอ
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่มักเกิดอาการ “เกาเหลา”(ขัดแย้ง,ไม่กินเส้น)กับลูกสาววัยรุ่นอยู่เสมอ...
ครอบครัวที่อยู่กันอย่างอบอุ่น(หรือร่มเย็นเป็นสุข-ในทัศนะของไทยเรา)นั้น
คนในบ้านมักจะมีคุณสมบัติแห่งการสื่อสารในเชิงบวก เช่น รู้จักฟัง(ฟังอย่างเอาใจใส่), รู้จักพูด
(พูดกันอย่างประคับประคองความรู้สึกของอีกฝ่าย)
รู้จักแสดงความรัก(สบสายตา,โอบกอด,ปลอบโยน)
แต่...คนที่เป็นแม่ในครอบครัวคลิงเกอร์ กลับมีโทษสมบัติที่มักสื่อสารกับคนในบ้าน
(โดยเฉพาะกับลูกสาว)ในเชิงลบ ( ไม่รู้จักพูด-ฟัง-แสดงความรัก
แต่หนักไปในทางตำหนิ-ติ- ด่า ปฏิกิริยาเย็นชาและท่าทีไม่ยอมรับอื่นๆ
เช่น หลบตา,ทำท่าแข็งเกร็ง เมื่อลูกสาวเข้าใกล้หรืออยากเข้ามากอด)
ก่อให้ลูกสาวเกิดความสับสน น้อยใจ และเก็บกด ในขณะที่บรรยากาศในบ้าน
มักเกิดความบาดหมางและตึงเครียดอยู่เสมอ
พ่อ “ฉันขอกินอาหารเย็นอย่างสงบสุขสักวัน...จะได้มั้ย???”
ยิ่งลูกสาวคนโต(มิคาเอล่า)จัดได้ว่าเป็นเด็กที่มีความเปราะบางทางชีวภาพ
และทางอารมณ์อยู่แล้ว(อ่อนไหวง่าย-เครียดง่าย) โอกาสที่จะป่วยด้วยโรคทางจิตเวชจึงมีแนวโน้มสูง
( จากการวิจัย ในปี 1987 ของ Wiseman, Hahlweg และ คณะ)
และแล้ววันหนึ่ง ...ความสัมพันธ์ของแม่-ลูก คู่นี้ จึงถึงจุดปรอทแตก
... แม่มองลูกสาวอย่างดูแคลน เมื่อลูกโชว์ชุดไหมพรมรัดรูปที่เพิ่งซื้อมาหมาดๆ
แม่(ประชด) “นี่มันช่างเหมาะกับแกแล้วซินะ!”
ได้ยินดังนั้นลูกสาวถึงกับรีบจ้ำเดินขึ้นห้องอย่างน้อยใจ
มิคาเอล่าถอดชุดโปรดนั้นพับเก็บเข้าตู้เสื้อผ้า
แต่ครู่ต่อมาก็ไม่พบเสื้อชุดนั้นเมื่อเปิดตู้อีกครั้ง เธอจึงรู้ทันทีว่า แม่เอามันไปทิ้งขยะ
“ทำไมแม่ทำอย่างนี้??!” มิคาเอล่าถามแม่เสียงกร้าว
แม่สวนกลับด้วยเสียงที่กร้าวกว่า“ถามตรงๆ ทำไมชอบแต่งตัวเหมือนพวกกระหรี่!!!”
มิคาเอล่า “หนูก็ขอถามตรงๆ...แม่เคยแคร์ความรู้สึกของหนูบ้างมั้ย???”
…..เพี๊ยะ!!! …..ฝ่ามือหนักๆของแม่ ฟาดเปรี้ยงเต็มหน้าลูกสาว
วันนั้นแม้มิคาเอล่าจะตามครอบครัวไปโบสถ์ดังกิจวัตร แต่ก็เต็มไปด้วยความ
ขมขื่นและขุ่นแค้น ในที่สุดเธอก็วิ่งเตลิดออกไปกลางพิธีสวด กลับมาที่บ้านแล้วร่ำไห้
อย่างหนัก และในวันนั้นเอง...เธอก็โดนผีร้ายเข้ามาสิงเหมือนเช่นเคย
แต่ครั้งนี้มันแผลงฤทธิ์อย่างรุนแรงและน่ากลัวยิ่งกว่าทุกครั้ง!
กระทั่งสร้อยประคำที่แม่ให้ไว้กันผี
ต้องถูกดึงทึ้งและเขวี้ยงทิ้งอย่างไม่เหลือดี
มิคาเอล่า(หลังจากผีผละออกจากร่าง)“มันวิ่งพล่านออกจากนิ้วของหนู
...หนูแตะไม้กางเขนไม่ได้ หนูทำอะไรก็ผิดไปหมด เมื่อคืนพวกมันก็มากันยั้วเยี้ย
...ผีหน้าสยดสยองมันตะคอกหนูว่า นังโสโครก-สำส่อน...”
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เธอสารภาพกับสองบาทหลวงที่มีความเห็นไปคนละทาง
หลวงพ่อชรา “เหลวไหล ไร้สาระ เรื่องบ้าๆพรรค์นี้มีแต่จิตแพทย์เท่านั้นแหละ ที่จะรับฟัง”
หลวงพ่อหนุ่ม(หล่อ) “เด็กผู้หญิงคนนี้ต้องการให้ผมช่วย (ไล่ผี) ไม่ใช่ต้องไปพึ่งหมอหรือจิตแพทย์”
ในขณะที่ฮาน่าเพื่อนรัก และแฟนหนุ่มของมิคาเอล่า มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า
เธอกำลังป่วยทางจิต และต้องรับการรักษาโดยจิตแพทย์อย่างรีบด่วน
ฮาน่า “หยุดเถอะ! ผีมันไม่หนีไปไหนหรอก เพราะมันไม่มีตัวตน
ขืนยังทำพิธีขับไล่ต่อไป แล้วตัวเธอน่ะจะลงเอยยังไง???”
แต่แล้วในที่สุด ทั้งพระหนุ่มพระแก่ พ่อแม่ รวมทั้งตัวมิคาเอล่าเอง
ก็ตัดสินใจแก้ปัญหาอันเรื้อรังนี้ด้วยการสวดมนต์และทำพิธีไล่ผีต่อไป......
เรื่องของผีเข้า-เจ้าสิง ฝรั่งยุคนี้แทบจะหาคนโดนเข้าไม่ค่อยได้
แถมไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ ยกเว้นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่ศึกษาในแง่ของ
โรคจิตเภท(Schizophrenia) หรือ โรคประสาทแบบฮิสทีเรีย (Hysterical neurosis)
ส่วนในบ้านเรา ในบางท้องถิ่นได้กลายเป็นเรื่องของจิตเวชชุมชน
โดยเฉพาะชุมชนที่ยังยึดมั่นในขนบประเพณีแบบดั้งเดิม
ที่มีความเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์ เรื่องผี ปีศาจ ฯลฯ...
เช่น ในกรณีผีปอบ ที่ใครในท้องถิ่นนั้นก็มีโอกาสโดนสิงสู่ได้โดยฉับพลัน
แถมยังอาจไปกระตุ้นผู้อื่น(ที่มีความอ่อนไหว-ตึงเครียดง่าย และมีความเชื่อเรื่องผีอย่างเหนียวแน่น)
จนเกิดอารมณ์ร่วมกลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่( Chain Reaction)
หรือระบาดไปจนกลายเป็นอุปาทานหมู่ (Mass Hysteria)
มิคาเอล่านั้นแสดงออกถึง บุคลิกภาพที่แบ่งแยกอย่างชัดเจน
(ไม่ใช่เป็นแบบแตกแยก เหมือนผู้ที่ป่วยด้วยโรคจิตเภท
เช่น ดร.จอห์น แนช ในหนังเรื่องBeautiful Mind)
และปรากฏการณ์นี้มิใช่เกิดจากการเสแสร้งแกล้งทำ
แต่เป็นอาการผิดปกติทางจิตชนิดบุคลิกซ้อน จิตถูกแบ่งแยกเป็น2 ด้านโดยอัตโนมัติ
(Multiple or double personality)
นั่นหมายถึง...ในภาคปกติ เธอคือสาวน้อยน่ารัก รักและเชื่อฟังพ่อแม่ หมั่นสวดมนต์
เป็นศาสนิกชนที่ดี มีความตั้งใจเล่าเรียน
ส่วนในภาคอปกติ เธอจะแปรเปลี่ยนไปอย่างสุดขั้ว เป็นอมนุษย์ที่ก้าวร้าวและป่าเถื่อน
แต่ที่ประหลาดก็คือ พฤติกรรมที่ทั้งถ่อยเถื่อนและน่ากลัวนั้น
มันได้แปรออกมาจากความโกรธและเคืองแค้นที่เธอเก็บกดอยู่ในจิตใจอย่างเรื้อรัง
แน่นอน...มิคาเอล่าต้องกดเก็บความรู้สึกที่มีต่อบุคคลที่เธอทั้งรักทั้งชัง
นั่นก็คือ “แม่”ของเธอนั่นเอง
แม่...ที่จะรักก็รักได้ไม่เต็มที่ ...จะนึกเกลียดก็เกิดความรู้สึกผิด
และบาป... นั่นเองเป็นสิ่งที่Egoยอมรับไม่ได้
(ego คือ จิตตัวที่คอยปรับความสมดุลระหว่างสันดานดิบและมโนธรรม)
อาการผีเข้าจึงเป็นกลไกทางจิต ที่ตอบสนองความต้องการระบายความก้าวร้าวรุนแรง
ความเป็นอริ ที่ฝังอยู่ในใต้จิตสำนึก(Primary gain)
ก็คล้ายเด็กวัยรุ่นบางคน
หาทางออกโดยการกลายเป็นพวกเกเรอันธพาล ติดยาเสพติด
หรือเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เช่น ระบายไปกับการเล่นกีฬา หรือ
ศิลปะแขนงต่างๆ เพียงแต่มิคาเอล่าเบี่ยงเบนไปในทางอำนาจลึกลับ!
“ผี” จึงเป็นสัญลักษณ์ (Symbolic)
ของการผ่อนคลายความตึงเครียดและขุ่นแค้น
ที่สุมแน่นอยู่ในจิตใจ (Psychic Trauma =ความชอกช้ำหรือ บาดแผลทางใจ)
ทั้งสิ่งที่เธอได้รับโดยอ้อมจากการโดนผีเข้าก็คือ การห่วงใยเอาใจใส่
และให้อภัย (Secondary gain) จากผู้ใหญ่ หรือผู้มีอำนาจ (โดยเฉพาะ “แม่”)
ส่วนเสียงดุด่าของผี(...นังสารเลว...นังสำส่อน ฯลฯ )ที่ได้ยินทุกครั้งที่อาการกำเริบก็คือ
เสียงที่เจ้าตัวปั้นขึ้นมาเองจากนโนสำนึก(Super-ego) ที่มักได้รับการปลูกฝัง หรือดุด่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ปรมาจารย์ซิกมันด์ ฟรอยด์เรียกว่า เสียงแห่งศีลธรรม
( Voice of conscience)
เหตุใดคนเป็นแม่ จึงเกิดอาการ “ไม่กินเส้น”กับลูกสาว?
หนังเรื่องนี้ไม่ได้นำเสนอปูมหลังให้เห็น แต่สาเหตุที่แม่กับลูกสาวไม่ลงรอยกันนั้น
โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นจาก...ความไร้วุฒิภาวะของคนเป็นแม่(ที่เจ้าอารมณ์
และมีความคิดแบบเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ)...ไม่รู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นผู้หญิง...ถูกปลูกฝัง
ทั้งจากครอบครัวและประสบการณ์ในอดีต หรือจากประเพณีความเชื่อในชุมชนนั้นๆ
แม่ลักษณะนี้จึงมักมีอคติ หรือมีความริษยาอย่างไร้เหตุผล ...
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ในบางท้องถิ่นจะยังคงขนบประเพณีการไล่ผี
เพื่อรักษาสังคมนั้นๆไว้ แต่ก็ได้บัญญัติข้อจำกัดไว้อย่างมากมาย การทำพิธีไล่ผีจึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ
( เช่น พระที่จะทำการไล่ผี จะต้องได้รับอนุญาตเป็นพิเศษจากพระสังฆราชประจำท้องถิ่นนั้น)
จากโลกยุคกระสวยอวกาศมาถึงยุคดิจิตอล และกำลังย่างก้าวสู่โลกยุคพัฒนาการทางสมอง
(Decade of the Brain) กรณีผีเข้า-เจ้าสิงได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เกิดขึ้นจากสาเหตุทางจิตใจ
ที่มีผลต่อพฤติกรรมหลายอย่างที่ผิดปกติ วิทยาการทางการแพทย์จึงถือว่า
คนที่โดนผีเข้า คือ
ผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตใจ ที่จะต้องได้รับการเยียวยารักษาโดยด่วน...