การบังคับแต่งงานคือสาเหตุใหญ่
เบื้องหลังการเผาตัวตายเพื่อประท้วงในกลุ่มสตรีอัฟกานิสถานที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเพราะผู้หญิงประเทศนี้มีที่รู้หนังสือไม่ถึงร้อยละ 20 บวกกับระบบกฎหมายไร้ประสิทธิภาพ จึงไม่แปลกที่หลายคนจะหาทางออกของปัญหาไม่เจอและคิดสั้นในที่สุด
ปรากฏการณ์น่าสลดใจในหมู่ผู้หญิง จัดขึ้น 3 วัน มีผู้เข้าร่วมราว 400 คน เป็นตัวแทนจากหลายประเทศที่ต่างก็มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงพอๆ กัน เช่น บังกลาเทศ อิหร่าน อินเดีย และศรีลังกา
เมดิก้า มอนดิแอล องค์กรพัฒนาสังคมสัญชาติเยอรมัน เสนองานวิจัย ระบุว่า
แม้จะไม่มีตัวเลขหรือบันทึกแน่ชัดจากโรงพยาบาลและตำรวจว่า มีการฆ่าตัวตายเท่าไร และมีกี่ครอบครัวที่เกิดกรณีดังกล่าว แต่พบว่าเฉพาะโรงพยาบาลในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน มีกรณีผู้หญิงเผาตัวตายถึง 18 กรณี ในปี 2548 และ 36 กรณี ในปี 2549
นอกจากนี้ เมืองเฮรัต ทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน
ยังมีการฆ่าตัวตายมากที่สุดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่ามีให้ได้ยินทุกวันและในจำนวนนั้นร้อยละ 60 เป็นผู้หญิงที่ไม่มีการศึกษา
สำหรับเหตุผลที่ผู้หญิงและเด็กสาวเลือกใช้วิธีรุนแรงดังกล่าว
อย่างที่บอกในเบื้องต้นก็คือการถูกบังคับแต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นการยกให้ครอบครัวอื่นไปเพื่อปลดหนี้หรือยุติความขัดแย้งกับญาติๆ เช่น กรณียกให้พ่อตาพ่อสามีที่ต้องการมีอีหนู
กล่าวในที่ประชุมว่า
การฆ่าตัวตายคือทางเลือกสุดท้ายของผู้หญิงที่หาทางออกอื่นไม่พบ จากสถิติพบว่าการแต่งงานในอัฟกานิสถานร้อยละ 60-80 เป็นการบังคับแต่ง
สำหรับกุลซัม สาววัย 16 ปี ผู้รอดชีวิต เล่าว่า
เธอราดเบนซินใส่ตัวแล้วจุดไฟเผา หลังจากที่โดนสามีขี้ยาที่แก่กว่าเธอถึง 25 ปี ทุบตีทำร้าย ซึ่งพ่อบังคับให้แต่ง
"เวลาที่เขาไม่ได้เสพเฮโรอีนหรือยาเขาก็จะมาทำร้ายฉัน ตอนกลางคืนเขาจะทุบตีฉัน ทุบหัวจนเลือดไหลออกจมูก ฉันถามเขาว่าทำอย่างนี้ทำไม แต่เขาก็ยิ่งตีฉันอีก"
และภายหลังผ่าตัดหลายครั้งจนปกติ กุลซัมก็ต้องกลับมาอยู่กับชายคนเดิมที่หัวโบราณและไม่สามารถเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีได้ เพราะในประเทศนี้ห้ามหย่าร้างและสิทธิในการเลี้ยงลูกอยู่ที่พ่อไม่ใช่แม่
นอกจากนั้นอายุของผู้หญิงที่กฎหมายอนุญาตให้แต่งงานได้คือ 18 ปีแต่ความเป็นจริงผู้หญิงราวร้อยละ 57 ถูกบังคับแต่งงานก่อนอายุ 16 ปีด้วยซ้ำ ตามรายงานของสหประชาชาติ