ช่วงปี พ.ศ. 2461 ได้มีการประหารนักโทษสำคัญคนหนึ่ง ซึ่งที่รู้จักกันดีในสมัยนั้นเขาคือ "บุญเพ็ง" ซึ่งก่อคดีฆ่าคนตายหลายชีวิต และศพที่ "บุญเพ็ง" ฆ่านั้นก็ได้นำมาใส่หีบเหล็กแล้วโยนทิ้งน้ำทุกครั้ง จนชาวบ้านขนานนามว่า "บุญเพ็ง หีบเหล็ก" (สมัยนั้นไม่มีการใช้นามสกุล คำว่าหีบเหล็กต่อท้ายเป็นฉายามาจากพฤติกรรมฆ่าแล้วหั่นศพ จากนั้นก็นำมาใส่หีบเหล็กแล้วยกขึ้นรถเจ๊กลากไปทิ้งคลอง) บุญเพ็ง คือ ฆาตกรฆ่าหั่นศพคนแรกของเมืองสยาม… ได้ฉายาจากชาวต่างชาติว่า
"The Murderer Iron Box"
บุญเพ็ง เกิดที่ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พ่อมีเชื้อสายจีน แม่เป็นชาวญ้อ พออายุได้ 3 ขวบ จึงอพยพมาอยู่ที่บางปะกอก พอเติบใหญ่เป็นหนุ่มได้ศึกษาทางไสยศาสตร์จากหลายสำนักจนเก่งในเรื่องพยากรณ์ เมตตามหานิยม เสน่ห์ยาแฝด ประกอบกับเป็นผู้มีรูปร่างหน้าตาดีจึงเป็นที่หมายปองและถูกตาถูกใจเพศตรงข้าม (บางที่บอกว่าถูกเลี้ยงดูโดยตา-ยาย ซึ่งตา-ยายได้ห้ามไม่ให้เรียนพวกไสยศาสตร์ แต่บุญเพ็งเองก็ไม่ได้สนใจอะไร)
ด้วยความเป็นคนมีเสน่ห์จึงมักเกิดปัญหาสาวๆ แก่งแย่งกันบ่อยครั้ง พออายุได้ 27 ปี ก็ไปบวชเป็นพระอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ได้ 2 พรรษา ผ้าเหลืองร้อนจึงลาสิกขาบทออกมาประกอบอาชีพ หมอดู สาหร่ายา รับทำเสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปฝังรอย ฯลฯ ใช้ชีวิตเสเพลดื่มสุรายาเมาและเล่นการพนัน
จนกระทั่งกลายเป็นผีพนันถอนตัวไม่ขึ้น เขาต้องการเงินจำนวนมากเพื่อเล่นกันพนัน วิธีง่ายๆ แต่ได้เงินมากและรวดเร็วที่สุดในสมัยนั้น คือ "ฆ่าชิงทรัพย์" และแล้วการฆาตกรรมต่อเนื่องก็บังเกิด
เหยื่อรายแรก คือนายล้อม พ่อค้าเพชรพลอย บุญเพ็งก็ร่วมมือกับนายจรัญลูกสมุนคู่ใจฆ่าแล้วนำเงินและทรัพย์สินแบ่งกัน และหั่นศพเป็นชิ้น (บางแหล่งข่าวบอกว่าไม่ได้หั่นศพ แต่ยัดใส่หีบเลย …บางแห่งบอกว่าจำเป็นต้องหั่นแขน-ขาของศพ เพราะยัดศพใส่หีบไม่ได้) ใส่หีบเหล็ก (ที่สำนักของเขามีหีบเหล็กโบราณ อยู่ถึง 7 ใบ แต่บางที่ดันบอกว่ามีแค่ 3 ใบ) และให้นายจรัญจ้างรถเจ๊กไปทิ้งลงคลองบางลำพูเวลาเที่ยงคืนเพื่อทำลายหลักฐาน พร้อมกับหีบเหล็กที่หายไป 1 ใบ
เหยื่อรายที่ 2 เป็นผู้ชายไม่ทราบชื่อ รู้แต่ว่าเป็นผีพนันและวันนั้นเขาได้เงินพนันมา บุญเพ็งและนายจรัญเลยวางแผนล่อไปฆ่าเพื่อชิงเงินพนันและแบ่งทรัพย์สิน หั่นศพเป็นชิ้นใส่หีบเหล็ก แล้วให้นายจรัญเอาไปทิ้งที่คลองบางลำพูอีกศพ พร้อมกับหีบเหล็กที่หายไป 1 ใบ
วันเวลาผ่านไป พร้อมกับหีบเหล็กที่หายไปทีละ 1 ใบ จนมาถึงเหยื่อรายสุดท้าสุดท้าย เป็นแม่หม้ายชื่อ นางปริก เป็นคุณนายของท่านขุนสิทธิคดี (ปลั่ง) รูปร่างดี แต่งกายทองเต็มตัว บุญเพ็งก็เสพสมแล้ว กลายเป็นขาประจำ จนกระทั่งวันหนึ่งหญิงคนนั้นก็เกิดตั้งท้อง ยื่นคำขาดให้บุญเพ็งรับผิดชอบรับตนเป็นเมียอย่างออกหน้าออกตา ซึ่งบุญเพ็งบ่ายเบี่ยงตลอดเวลา สุดท้ายบุญเพ็งทนไม่ไหวจึงต้องฆ่า
วันสุดท้ายที่คนพบเห็นนางปริก เธอแต่งตัวสวยงาม ประดับประดาด้วยเครื่องทองเพชรนิจจินดาเต็มตัวเหมือนตู้ทองเคลื่อนที่ จนใครๆ รู้สึกว่า สวยเป็นพิเศษ โดยหารู้ไม่ว่านี้คือวาระสุดท้ายของนางปริกและลูกในท้องของเธอ คราวนี้มาแปลก เพราะบุญเพ็งลงมือฉายเดี่ยว ฆ่านางปริก ปลดทรัพย์สินไปจนหมดสิ้นและหั่นศพเป็นท่อนๆ (บางก็ว่ายัดลงในหีบไปเลยไม่ต้องสับ) ยัดลงหีบ ใส่รถเจ๊ก นำไปทิ้งลงคลองอีกเช่นเคย"และเป็นหีบใบสุดท้ายที่มี"
คราวนี้หีบเหล็กของนางปริก ดันไม่จมลงสู่ก้นคลองบางลำพู แต่ลอยไปติดกอสวะ คนงมกุ้งเกิดมาเห็นนึกว่าเป็นของมีค่า แต่เมื่อครั้นเปิดก็พบศพที่ไม่เน่าเปื่อยของนางปริกอยู่ข้างใน
ในช่วงประหารชีวิตนั้นได้มีผู้คนมากมายมาดูการประหารชีวิต แต่ว่าไม่มีญาติของบุญเพ็งเลยสักคน แม้กระทั่งเจ้าสาวซึ่งยังไม่ทันจะส่งตัวเข้าห้องหอก็ไม่มา
19 กุมภาพันธ์ 2462 (บางที่บอกว่าวันที่ 19 สิงหาคม)ได้มีประหารบุญเพ็งโดยการตัดหัว ซึ่งเป็นนักโทษที่ถูกประหารด้วยการตัดหัวเป็นคนสุดท้าย ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
ในช่วงประหารชีวิตนั้นเอง เพชรฆาตรำดาบอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ลงดาบอันคบกริบลงบนคอ แทนที่คอจะขาดเลือดพุ่งกระฉูด กลับกลายเป็นว่าคมดาบนั้นไม่ได้ระคายผิวเลยแม้แต่น้อย จนเพชฌฆาต พูดว่า "...มีอะไรดี ให้เอาออกเสียเถอะ" หลังจากนั้นมีคนบอกว่าเห็นบุญเพ็งคายของบางอย่างออกมา แล้วเพชรฆาตจับเขวี้ยงทิ้งหายไปในกอไผ่ (บางที่บอกว่าเป็นพระและเพชรฆาตจับขว้างทิ้งเข้าไปในกอไผ่ …บางที่ไม่ได้บอกว่าเป็นวัตถุอะไร แต่มีสีดำ เมื่อบุญเพ็งคายออกมาก็หายไป !?)
คราวนี้รำดาบใหม่ ดาบหน้ารำจนบุญเพ็งเคลิ้มเผลอ ทันใดนั้นดาบหลังฟันดัง ฉับ! คราวนี้ คอขาด หัวกระเด็น จนเลือดพุ่งกระฉูด ผู้คนที่มาดูต่างร้องวีดว้ายระงม ว่ากันว่าขณะที่ศีรษะถูกคมดาบของเพชรฆาตฟันฉับนั้น ในช่วงวินาทีสั้นๆ ชาวบ้านหลายคนได้เห็นมุมปากของบุญเพ็งขมุบขมิบเหมือนท่องคาถาอะไรสักอย่าง ซึ่งว่ากันว่าอาจจะเป็นไพ่ตายคุณไสย์ครั้งสุดท้ายของเขาเพื่อที่จะป้องกัน ชีวิตของเขาก็เป็นได้
ศพของ บุญเพ็ง หีบเหล็ก ถูกนำไปฝังไว้ในป่าช้านั้นเอง จนภายหลังญาติมาจัดการเผาศพตามพิธีและกล่าวกันว่ารอยสักช่วงแผ่นหลังของเขา เผาไฟไม่ไหม้ ส่วนกระดูกนั้น บรรดาญาติเก็บใส่เจดีย์ไว้ข้างอุโบสถ์วัด
พ.ศ. 2536 เจดีย์ถูกรื้อออก ทางวัดภาษีจึงได้ให้ช่างปั้นรูปปั้นจำลองไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และตั้งไว้ใน ศาลเล็กๆ ติดกับวิหาร และเรียกศาลว่า "ศาลปู่บุญเพ็ง" และหีบเหล็กที่ใช้ยัดศพได้มีคนไปกราบไหว้บูชา เสี่ยงโชคลาภและเข้าใจว่าวิญญาณของเขายังไม่ได้ไปผุดไปเกิดจนถึงปัจจุบัน
บุญเพ็งหีบเหล็ก เป็นฉายาของนายบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรที่เหี้ยมโหดในสมัยรัชกาลที่ 6 บุญเพ็งเกิดในปีขาล ที่เมืองท่าอุเทน มณฑลอุดร บิดาเป็นชาวจีน ส่วนมารดาเป็นลาว(อดีตไทยภาคกลางยังเรียกคนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ลาว) บุญเพ็งได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่อายุ 5 ขวบ โดยอาศัยอยู่กับตาชื่อสุก และยายชื่อเพียร เดิมนายบุญเพ็งเป็นภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี เนื่องจากพระบุญเพ็งเป็นพระที่ลูกศิษย์ส่วนมากเป็นผู้หญิงและร่ำรวยจึงทำให้บุญเพ็งมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงเหล่านี้ ต่อมาเกิดโลภมากในทรัพย์จึงได้ฆ่าสีกาที่เป็นเศรษฐินีเจ็ดคน แล้วนำศพยัดใส่หีบเหล็กแล้วถ่วงน้ำทุกครั้ง ผู้คนจึงเรียกเขาว่า บุญเพ็งหีบเหล็ก ต่อมาเขาถูกจับได้และประหารชีวิตในที่สุด..โดยบุญเพ็งเป็นนักโทษประหารชีวิตคนสุดท้าย ที่ถูกสังหารโดยการตัดคอ (โดยเล่าลือว่าในตอนแรกขณะที่ประหารเพชฌฆาตไม่สามารถตัดคอบุญเพ็งได้เนื่องจากความแก่กล้าในคาถาอาคม) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2462 ศพฝั่งอยู่ที่ป่าช้า และทำพิธีกรรมทางศาสนาที่
วัดภาษี เขตวัฒนา ริมคลองแสนแสบ ปัจจุบัน มีศาลบูชาบุญเพ็ง ซึ่งบุคคลในวัดจะเรียกบุญเพ็งว่า "ลุงบุญเพ็ง" และยังเชื่อว่าหีบเหล็กทั้ง 7 ใบนั้นถูกฝังอยู่ใต้ศาลของบุญเพ็งที่วัด
วัดภาษี เขตวัฒนา ริมคลองแสนแสบ ปัจจุบัน มีศาลบูชาบุญเพ็ง ซึ่งบุคคลในวัดจะเรียกบุญเพ็งว่า "ลุงบุญเพ็ง" และยังเชื่อว่าหีบเหล็กทั้ง 7 ใบนั้นถูกฝังอยู่ใต้ศาลของบุญเพ็งที่วัด
เรื่องราวของบุญเพ็งถูกได้รับการนำมาถ่ายทอดเป็นละครวิทยุหลายครั้ง และสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยโดยพยุง พยกุล ในปี พ.ศ. 2510 นำแสดงโดย แมน ธีระพล และ พ.ศ. 2523 นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และปริศนา ชบาไพร และเป็นภาพยนตร์ซีดี นำแสดงโดย พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์, ทัดทรวง มณีจันทร์, มรกต มณีฉาย
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manman
เหยื่อรายที่ 2 เป็นผู้ชายไม่ทราบชื่อ รู้แต่ว่าเป็นผีพนันและวันนั้นเขาได้เงินพนันมา บุญเพ็งและนายจรัญเลยวางแผนล่อไปฆ่าเพื่อชิงเงินพนันและแบ่งทรัพย์สิน หั่นศพเป็นชิ้นใส่หีบเหล็ก แล้วให้นายจรัญเอาไปทิ้งที่คลองบางลำพูอีกศพ พร้อมกับหีบเหล็กที่หายไป 1 ใบ
วันเวลาผ่านไป พร้อมกับหีบเหล็กที่หายไปทีละ 1 ใบ จนมาถึงเหยื่อรายสุดท้าสุดท้าย เป็นแม่หม้ายชื่อ นางปริก เป็นคุณนายของท่านขุนสิทธิคดี (ปลั่ง) รูปร่างดี แต่งกายทองเต็มตัว บุญเพ็งก็เสพสมแล้ว กลายเป็นขาประจำ จนกระทั่งวันหนึ่งหญิงคนนั้นก็เกิดตั้งท้อง ยื่นคำขาดให้บุญเพ็งรับผิดชอบรับตนเป็นเมียอย่างออกหน้าออกตา ซึ่งบุญเพ็งบ่ายเบี่ยงตลอดเวลา สุดท้ายบุญเพ็งทนไม่ไหวจึงต้องฆ่า
คราวนี้หีบเหล็กของนางปริก ดันไม่จมลงสู่ก้นคลองบางลำพู แต่ลอยไปติดกอสวะ คนงมกุ้งเกิดมาเห็นนึกว่าเป็นของมีค่า แต่เมื่อครั้นเปิดก็พบศพที่ไม่เน่าเปื่อยของนางปริกอยู่ข้างใน
หลังจากนั้นบุญเพ็งได้หนีไปบวชเป็นพระที่วัดแถวอยุธยา แล้วไม่รู้ว่าเป็นกรรมเวรอะไร ทำให้บุญเพ็งต้องสึกออกมาเพื่อแต่งงานกับผู้หญิงที่หมายปอง และคืนนั้นเองที่ยังไม่ทันจะได้ถึงสวรรค์ ก็มีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาล้อมจับไว้โดยละม่อมในข้อหาฆ่าคนตายอย่างเหียม โหด และศาลได้ตัดสินประหารชีวิตด้วยการตัดหัว (สมัยนั้นเรียกว่ากุดหัว) ให้ตายตกไปตามกัน ณ ป่าช้าวัดภาษี ซึ่งนักโทษรายนี้ใจแข็งมากร้องขอไม่ให้ผูกตาเพื่อขอดูโลกเป็นครั้งสุดท้าย…
ในช่วงประหารชีวิตนั้นได้มีผู้คนมากมายมาดูการประหารชีวิต แต่ว่าไม่มีญาติของบุญเพ็งเลยสักคน แม้กระทั่งเจ้าสาวซึ่งยังไม่ทันจะส่งตัวเข้าห้องหอก็ไม่มา
19 กุมภาพันธ์ 2462 (บางที่บอกว่าวันที่ 19 สิงหาคม)ได้มีประหารบุญเพ็งโดยการตัดหัว ซึ่งเป็นนักโทษที่ถูกประหารด้วยการตัดหัวเป็นคนสุดท้าย ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
คราวนี้รำดาบใหม่ ดาบหน้ารำจนบุญเพ็งเคลิ้มเผลอ ทันใดนั้นดาบหลังฟันดัง ฉับ! คราวนี้ คอขาด หัวกระเด็น จนเลือดพุ่งกระฉูด ผู้คนที่มาดูต่างร้องวีดว้ายระงม ว่ากันว่าขณะที่ศีรษะถูกคมดาบของเพชรฆาตฟันฉับนั้น ในช่วงวินาทีสั้นๆ ชาวบ้านหลายคนได้เห็นมุมปากของบุญเพ็งขมุบขมิบเหมือนท่องคาถาอะไรสักอย่าง ซึ่งว่ากันว่าอาจจะเป็นไพ่ตายคุณไสย์ครั้งสุดท้ายของเขาเพื่อที่จะป้องกัน ชีวิตของเขาก็เป็นได้
ศพของ บุญเพ็ง หีบเหล็ก ถูกนำไปฝังไว้ในป่าช้านั้นเอง จนภายหลังญาติมาจัดการเผาศพตามพิธีและกล่าวกันว่ารอยสักช่วงแผ่นหลังของเขา เผาไฟไม่ไหม้ ส่วนกระดูกนั้น บรรดาญาติเก็บใส่เจดีย์ไว้ข้างอุโบสถ์วัด
พ.ศ. 2536 เจดีย์ถูกรื้อออก ทางวัดภาษีจึงได้ให้ช่างปั้นรูปปั้นจำลองไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และตั้งไว้ใน ศาลเล็กๆ ติดกับวิหาร และเรียกศาลว่า "ศาลปู่บุญเพ็ง" และหีบเหล็กที่ใช้ยัดศพได้มีคนไปกราบไหว้บูชา เสี่ยงโชคลาภและเข้าใจว่าวิญญาณของเขายังไม่ได้ไปผุดไปเกิดจนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลเพิ่มเติมโดยสรุป
บุญเพ็งหีบเหล็ก เป็นฉายาของนายบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรที่เหี้ยมโหดในสมัยรัชกาลที่ 6 บุญเพ็งเกิดในปีขาล ที่เมืองท่าอุเทน มณฑลอุดร บิดาเป็นชาวจีน ส่วนมารดาเป็นลาว(อดีตไทยภาคกลางยังเรียกคนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ลาว) บุญเพ็งได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่อายุ 5 ขวบ โดยอาศัยอยู่กับตาชื่อสุก และยายชื่อเพียร เดิมนายบุญเพ็งเป็นภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี เนื่องจากพระบุญเพ็งเป็นพระที่ลูกศิษย์ส่วนมากเป็นผู้หญิงและร่ำรวยจึงทำให้บุญเพ็งมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงเหล่านี้ ต่อมาเกิดโลภมากในทรัพย์จึงได้ฆ่าสีกาที่เป็นเศรษฐินีเจ็ดคน แล้วนำศพยัดใส่หีบเหล็กแล้วถ่วงน้ำทุกครั้ง ผู้คนจึงเรียกเขาว่า บุญเพ็งหีบเหล็ก ต่อมาเขาถูกจับได้และประหารชีวิตในที่สุด..โดยบุญเพ็งเป็นนักโทษประหารชีวิตคนสุดท้าย ที่ถูกสังหารโดยการตัดคอ (โดยเล่าลือว่าในตอนแรกขณะที่ประหารเพชฌฆาตไม่สามารถตัดคอบุญเพ็งได้เนื่องจากความแก่กล้าในคาถาอาคม) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2462 ศพฝั่งอยู่ที่ป่าช้า และทำพิธีกรรมทางศาสนาที่
วัดภาษีในปัจจุบัน |
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manman