🔴หนังสือปกหนังมนุษย์ จากร่างของฆาตกรอำมหิต ของสะสมสุดคลั่งไคล้ของชาวอังกฤษ
วิลเลี่ยม คอร์เดอร์ (William Corder) เกิดในปี 1803 ที่ประเทศอังกฤษ ชื่อของเขานั้นถูกชาวอังกฤษจดจำในชื่อของ “ฆาตกรโรงนาสีแดง” จากเหตุฆาตกรรมนางสาวมาเรีย มาร์เต็น (Maria Marten)
คนรักของตนเองและซ่อนศพไว้ภายในโรงนา
ซึ่งเหตุการณ์ที่นำไปสู่การจับกุมวิลเลี่ยมนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเหลือเชื่อเพราะในระหว่างที่ครอบครัวของเหยื่อที่เขาฆ่าได้ตามหาตัวเธอนั้น ไม่มีใครพอที่จะมีเบาะแสเลยว่าเธอหายไปไหน จนกระทั่งเวลาผ่านไป
ประมาณ 3 วัน แม่ของเหยื่อได้ฝันซ้ำๆ กันว่าลูกสาวของเธอถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยมภายในโรงนาที่ซ่อนศพไว้ จนเป็นเหตุให้มีผู้ไปตรวจค้นที่โรงนาอย่างละเอียดจนพบศพของเธอ
หลังจากที่พบศพแล้ว วิลเลี่ยมก็ถูกจับกุมและถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา เรื่องราวของวิลเลี่ยมไม่ได้จบเพียงเท่านั้น ร่างของเขานั้นถูกยึดให้เป็นทรัพย์สินของทางการโดยไม่ได้มีการมอบกลับไปให้ครอบครัวเพื่อทำพิธีตามศาสนา หากแต่ถูกส่งเข้าไปยังคณะแพทยศาสตร์เพื่อนำไปศึกษาและที่สำคัญคือนำไปเป็นของที่ระลึก!!
ต้องเท้าความก่อนว่าในขณะที่ วิลเลี่ยมถูกจับกุมนั้น เรื่องราวของเขาและคนรักกลายเป็นเรื่องที่โด่งดังมากในอังกฤษ เพราะมันมีพลอตเดียวกับละครโศกนาฏกรรมคือชายชั่วที่บังคับหญิงสาวผู้มาจากครอบครัวที่ยากจนให้แต่งงานด้วย เมื่อหญิงสาวปฏิเสธจึงต้องจบลงด้วยความตายและยังมีเรื่องเหนือธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้หนังสือพิมพ์ที่รายงานสกู๊ปข่าวนี้ขายดีกว่า 1 ล้านฉบับในเวลานั้น
หลังจากวิลเลี่ยมถูกประหารไปแล้ว โรงนาสีแดงที่เป็นที่เกิดเหตุได้ถูกรื้อออกเป็นชิ้นๆ เพื่อนำมาแปรรูปเป็น “ของที่ระลึก” ขายให้กับชาวอังกฤษ
มันน่าทึ่งตรงที่ทำออกมาเท่าไหร่ก็ขายหมดทุกชิ้นแถมยังมีของที่อ้างว่าเป็นชิ้นส่วนของโรงนาแดงอีกด้วย และเชือกที่ใช้แขวนคอก็ถูกแบ่งออกมาขายให้เก็บไปสะสมด้วย
เช่นกัน
เช่นกัน
คราวนี้มาถึงของที่ระลึกชิ้นที่มีค่าที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ “ร่างของวิลเลีย่ม” หลังจากที่ถูกส่งไปที่คณะแพทยศาสตร์แล้ว ร่างของวิลเลี่ยมก็ถูกนำเข้ากระบวนการ “ถลกหนัง” ออกมา เพื่อนำไปฟอกให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และจากนั้นก็นำมาหุ้มปกสำนวนคดีของเขาเองเพื่อเตือนใจว่าหนังที่หุ้มปกหนังสืออยู่นี้คือหนังของฆาตกรในคดีนี้เอง
ส่วนโครงกระดูกนั้นถูกนำไปตั้งไว้
ในโรงพยาบาลเวสต์ ซัฟฟอล์ค
(West Suffolk) ซึ่งพิเศษตรงที่โครงกระดูกของวิลเลี่ยมนั้นถูกติดตั้งกลไกที่สามารถขยับเองได้เมื่อมีคนเดินเข้าไปใกล้ราวกับหุ่นโชว์ในงานวัดก็ไม่ปาน
มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งกะโหลกของวิลเลี่ยมนั้นถูกขโมยไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งบรรดาผู้ดูแลก็ต่างคิดว่ามันคงจะถูกขายไปให้กับนักสะสมและคงจะไม่มีโอกาสได้คืนอีกแล้ว แต่เวลาผ่านไปไม่ถึงสามเดือนก็มีพัสดุส่งกลับมาที่โรงพยาบาลพร้อมกับจดหมายขอโทษที่เล่าถึงสาเหตุว่าทำไมถึงต้องส่งคืน เพราะผู้ที่ขโมยไปนั้นนอกจากจะขายไม่ได้
แล้วยังต้องถูกคำสาปของวิลเลี่ยมจนคนในครอบครัวเกือบจะตายหมู่จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลายครั้ง
ปัจจุบันทั้งหนังสือที่หุ้มปกด้วยผิวหนังและโครงกระดูกของ วิลเลี่ยมนั้นยังถูกเก็บรักษาไว้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของเมือง ซัฟฟอล์ค ในประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าครั้งหนึ่งชาวอังกฤษเคยคลั่งไคล้เรื่องราวของฆาตกรมากจนถึงขนาดไหน....