ค้นหา

ที่นี่มีผี..รวมเรื่องลึกลับสยองขวัญสั่นประสาทตาเหลือกตากลับ
บางทีก็น่ากลัวบางทีก็ไม่น่ากลัวรวมๆกันไป
ที่นี่เปิด รับทุกอย่างที่เกี่ยวกับผีๆวิญญาณ
ท่านใดชอบเรื่องผีหรือมีคลิปผีถ่ายติดวิญญาณ.. น่าสนใจ..
ติดต่อส่งตั้งกระทู้มาที่ ghost-in-manman ด้านข้างครับ
แนะนำข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเชิญได้ครับ
ดูเว็บ ghost-in-manman แล้วหาความรู้เพิ่มเติม..ไม่เชื่อแต่ไม่ลบหลู่ครับ
สุดท้ายขอขอบคุณเพื่อนๆที่ให้ความสนใจและ ให้ข้อมูลเรื่องน่ากลัวๆเรื่องประสบการณ์ทางวิญญาณ มาทางเราจะนำมาลงให้อ่านกันในครั้งต่อไปนะครับ.....
อย่าลืมดูเว็บ ghost-in-manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ระฆังพระเจ้าจิงกูจา


ระฆังพระเจ้าจิงกูจา
ภาพวาดสีน้ำชิ้นนี้เป็นฝีมือของ ร.ท. โจเซฟ มัวร์ (Lieutenant Joseph Moore) แห่งกองร้อยที่ 89 กองทัพอังกฤษ เป็นหนึ่งในภาพชุดของมัวร์ที่ถูกนำออกเผยแพร่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเมื่อปี 1825-1826 ซึ่งเป็นภาพชุดจากหลายสถานที่ในช่วงที่เกิดสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 (1824-1826) เพื่อแย่งชิงอำนาจในการครอบครองดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งพม่าต้องเสียเมืองย่างกุ้งให้กับอังกฤษไปในเดือนพฤษภาคม 1824

ภาพนี้เป็นภาพบริเวณลานกว้างรอบเจดีย์ชเวดากองของพม่าจากคำบรรยายภาพ ระฆังทางขวามือเป็นระฆังที่หล่อขึ้นเมื่อปี 1779 หนัก 23.1 ตัน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4 เมตร สูงจากพื้น 0.46 เมตร ซึ่งตรงกับลักษณะของระฆังพระเจ้าจิงกูจา (Singu Min’s Bell) หนึ่งในระฆังคู่บ้านคู่เมืองของชาวพม่าที่อังกฤษพยายามขนกลับประเทศหลังยึดย่างกุ้งได้สำเร็จ โดยอังกฤษได้เคลื่อนระฆังขึ้นแพเพื่อต่อไปยังเรือที่จอดรออยู่ แต่ระฆังเกิดพลัดตกลงแม่น้ำ กองทัพอังกฤษพยายามกู้ระฆังเป็นเวลากว่า 7 วันก็ไม่สำเร็จ

ภายหลังแกนนำพระสงฆ์ชาวพม่ารายหนึ่งจึงได้รับอนุญาตจากอังกฤษให้กู้ระฆังใบนี้ได้ และชาวพม่าก็ทำได้สำเร็จด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการผูกระฆังกับเสาเรือในช่วงน้ำลง เมื่อน้ำขึ้นกระแสน้ำก็ช่วยดึงให้ระฆังหลุดจากโคลนได้ ระฆังใบนี้จึงถูกนำมาติดตั้งไว้ที่เจดีย์ชเวดากองตามเดิม (ข้อมูลจาก Burma Press Summary from The Working People’s Daily Vol.II, No. 2, February 1988)

รายการบล็อกของฉัน